วิธีตรวจสอบรหัสยืนยัน eloop Power Bank ของแท้ (Eloop Security Check Update Q4 2017)
เนื่องจากพาวเวอร์แบงค์ eloop เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้มีสินค้าลอกเลียนแบบทำแบตสำรอง eloop ของปลอมออกมาขายปะปนกับ eloop ของแท้อยู่จำนวนมาก แน่นอนว่าของปลอมย่อมมีคุณภาพต่ำกว่าของแท้อยู่แล้ว คงไม่มีใครชอบที่จะใช้ของปลอม เพราะต้องจ่ายที่ราคาใกล้เคียงกัน แต่กลับได้ของที่แย่กว่า เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ผู้ซื้อจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไร
การตรวจสอบสภาพแพ็คเกจและตัวเครื่องทั่วไปนั้น สังเกตได้ยาก เนื่องจาก eloop ของปลอมมีพัฒนาการเลียนแบบ ได้ใกล้เคียงกับของจริงมากขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะแยกกันไม่ออกเลยทีเดียว ถ้าไม่ใช่ผู้ที่คุ้นเคยกับพาวเวอร์แบงค์ eloop มาเป็นอย่างดี ก็อาจได้ eloop ของปลอมมาใช้โดยไม่รู้ตัว ก็เป็นได้
โชคดีที่ยังมีอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถตัดสินว่าพาวเวอร์แบงค์ eloop ที่คุณได้รับมานั้นเป็นของแท้หรือของปลอมกันแน่ นั่นคือการตรวจสอบ “รหัสยืนยันของแท้” หรือ “Security Code”กับเว็บไซต์ของ eloop ของประเทศจีนโดยตรง นั่นคือ szeloop.com
วิธีการยืนยันหรัสกับเว็บไซต์ของ eloop โดยงตรงจึงเป็นวิธีการเดียวที่สินค้าของปลอมไม่สามารถทำได้ ถ้าจะทำ ก็ต้องไปอ้างอิงกับเว็บไซต์อื่น โดยทำชุดรหัสปลอมขึ้นมา เพื่อใช้ตรวจสอบกับเว็บปลอมที่สร้างขึ้นมาอีก ดังนั้น ข้อสังเกต eloop ของปลอมอย่างหนึ่งก็คือ ถ้ามีการระบุให้ตรวจสอบรหัสกับเว็บอื่นที่ไม่ใช่ szeloop.com ก็น่าสงสัยว่าพาวเวอร์แบงค์อันนั้นอาจเป็นของปลอมได้
ขั้นตอนการตรวจสอบรหัสยืนยันของแท้ eloop
พาวเวอร์แบงค์ eloop และ Orsen ทุกร่นจะมีแสตมป์ลายสีส้ม-เขียวพร้อมโลโก้ eloop ติดไว้ที่หน้ากล่องและข้างกล่อง
ระวัง: หากบนกล่องสินค้าไม่มีแสตมป์ eloop ติดอยู่ หรือเป็นแสตมป์แบบอื่นที่ไม่ใช่ของ eloop ก็ความเสี่ยงที่จะเป็นของปลอมสูงมาก
แนะนำ: ให้เลือกซื้อสินค้าเฉพาะที่มีแสตมป์แท้ของ eloop ติดอยู่เท่านั้น
1. ขูดรหัสด้วยเล็บเบาๆ บนแถบสีเงินตรงกลางแสตมป์ ตรงตำแหน่งที่มีคำว่า ORIGINAL INQUIRY จะปรากฏตัวเลขขึ้นมาทั้งหมด 16 หลัก
ระวัง: ไม่ควรใช้เหรียญหรือของแข็งขูด เพราะอาจทำให้แถบตัวเลขเสียหายได้
แนะนำ: พิมพ์ตัวเลขทั้งหมดนี้ลงในโปรแกรม Word หรือ Notepad เพื่อเตรียมนำไปตรวจสอบต่อไป ซึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้องในภายหลังได้ว่าเราพิมพ์ตัวเลขผิดหรือไม่
2. เข้าไปที่เว็บ www.szeloop.com แล้วคลิกเลือกลิงก์ SECURITY CHECK หรือกดที่ลิงก์นี้
http://www.szeloop.com/index.php?m=content&c=index&a=lists&catid=12
ระวัง: อย่าหลงไปเข้าเว็บเก่าที่เลิกใช้ไปแล้ว หรือเว็บอื่นที่ไม่ใช่ของ eloop เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะเชื่อถือไม่ได้
แนะนำ: ให้เข้าไปที่เว็บ www.szeloop.com ของ eloop เท่านั้น
3. พิมพ์หรือก๊อปปี้รหัสตัวเลข 16 หลัก ลงในช่อง SECURITY CODE ENQUIRY แล้วกดปุ่ม SEARCH
ระวัง: ตรวจสอบดูตัวเลข ให้แน่ใจว่าชุดเลขรหัสนั้นถูกต้อง ก่อนที่จะกดปุ่ม SEARCH
แนะนำ: ให้พิมพ์ตัวเลขทั้งหมดติดกัน โดยไม่ต้องเว้นช่องว่างใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด
4. ตรวจสอบดูผลลัพธ์ที่ได้ โดยผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาได้ 3 แบบดังนี้
1) ถ้าตรวจสอบแล้วได้คำตอบว่า ”The products you are checking is not eloop orginal products, beware of counterfeiting!” (สังเกต คำว่า original เขียนผิดเป็น orginal) หมายความว่า สินค้าที่คุณตรวจสอบนั้นไม่ใช่ของแท้จาก eloop โปรดระวังของปลอม
ระวัง: ตรวจสอบให้ดีว่า ตัวเลขที่ใส่เข้าไปไม่ผิดและมีตัวเลขครบทั้ง 16 ตัว โดยดูจากชุดตัวเลขที่ต่อท้ายในช่อง URL ของเบราเซอร์
แนะนำ: ให้แคปเจอร์หน้าจอ (Screen Capture) พร้อมข้อมูลในช่อง URL ของเบราเซอร์ เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบภายหลัง
ของปลอมซึ่งมีรหัสไม่ถูกต้อง กดเช็คกี่ครั้งก็จะได้คำตอบเป็นแบบเดิมทุกครั้ง ไม่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นแบบที่ 2 หรือ 3 ได้
2) ถ้าผลการตรวจสอบขึ้นว่า “The bar code you are checking is orignal, thank you for choosing eloop products!” (สังเกต คำว่า original เขียนผิดเป็น orignal) แสดงว่าสินค้าที่คุณได้รับนั้นเป็นของแท้จาก eloop แน่นอน สบายใจได้
ระวัง: คุณมีโอกาสเช็ครหัสได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบซ้ำอีก
แนะนำ: เมื่อได้รับคำตอบว่าเป็นของแท้แล้ว เป็นอันว่าเรียบร้อย อย่ากดปุ่ม Refresh หรือทำการตรวจสอบใหม่ เพราะผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นแบบที่ 3 ทันที ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการนำรหัสจริง ไปใช้ซ้ำๆในสินค้าปลอมนั่นเอง
3) แต่ถ้าได้รับคำตอบว่า “The barcode you have inquired has been queried over mm-dd-yyyy, the bar code has expired, beware of counterfeiting!” หมายความว่า รหัสนี้ถูกตรวจสอบแล้วเมื่อวันที่ mm-dd-yyyy รหัสนี้หมดอายุแล้ว โปรดระวังของปลอม! เช่นวันที่เป็น 11-10-2017 หมายถึง เดือน-วัน-ปี ซึ่งก็คือวันที่ 10 เดือน 11 ปี 2017
โดยวันที่ที่ปรากฏขึ้นมานั้น จะแสดงวันที่ที่รหัสนั้นถูกเช็คครั้งแรก ถ้าเป็นวันที่ปัจจุบันที่คุณตรวจสอบ แสดงว่าเป็นคุณเองที่พึ่งตรวจสอบไป แต่ถ้าตัวเลขเป็นวันอื่นก่อนหน้านี้ ก็น่าเป็นห่วงว่าอาจจะเป็นของปลอมได้
ดังนั้น หากคุณเช็คไปเช็คมาหลายๆครั้งแล้วได้ผลลัพธ์เป็นแบบที่ 3 โดยมีวันที่เป็นวันปัจจุบัน ในกรณีนี้ แสดงว่ามีการเช็คซ้ำเกินว่า 1 ครั้งโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ และสามารถเชื่อได้ว่าสินค้าที่คุณได้รับนั้นเป็นของแท้เช่นกัน เพราะถ้าเป็นของปลอม ไม่มีโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์เช่นนี้ได้
ระวัง: ตอนกดปุ่ม SEARCH ให้กดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อย่ากดซ้ำๆ เพราะจะทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดได้
แนะนำ: ให้ทำการตรวจสอบเมื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต (Internet connection) เสถียร เช่น เมื่อเชื่อมต่อแบบ Wifi เพราะถ้าเกิดสัญญาณอินเตอร์เน็ตหลุด ก็อาจทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดได้เช่นกัน
ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ คงช่วยให้คุณพิสูจน์ได้ว่าพาวเวอร์แบงค์ eloop หรือ Orsen ที่คุณซื้อมานั้น เป็นของแท้หรือของปลอมกันแน่ ถ้าเป็นของแท้ ก็สบายใจกันไป แต่จะทำอย่างไร หากผลลัพธ์ออกมาเป็นแบบที่ 1 ที่บอกว่าสินค้าไม่ใช่ของแท้จาก eloop ให้ระวังของปลอม จะหมายความว่าเป็นของปลอม 100% เลยก็ไม่ใช่ ที่จริงก็ยังไม่แน่นะครับว่า มันมีข้อยกเว้นอยู่บ้างที่ทำให้ของแท้ๆ แต่เวลาเช็ครหัสออกมา ได้ผลลัพธ์เป็นของปลอม โอกาสหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ
เราคัดเลือกผู้แทนจำหน่ายใน Lazada ที่จำหน่ายเฉพาะ eloop ของแท้ ราคาไม่แพง จากผู้แทนจำหน่ายที่มีประวัติการดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี
มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับ eloop power bank ของแท้ ราคาถูก จัดส่งเร็ว พร้อมบริการที่ดี